Responsive Web Design คืออะไร?![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/gcb-195.gif)
การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ทุกชนิด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดหน้าจอหลากหลาย ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ Smart Phone และ Tablet ต่างๆ ที่มีมาตรฐานขนาดหน้าจอที่แตกต่างกัน พูดได้ว่าออกแบบครั้งเดียวสามารถนำไปใช้ได้กับทุกหน้าจอเลยทีเดียว
ทั้งนี้ Responsive Web Design เป็นการออกแบบเว็บไซต์ โดยใช้เทคนิคของ CSS , CSS3 และ JavaScript ในการออกแบบเพื่อให้เว็บไซต์สามารถจัดลำดับ เรียงข้อมูลบนเว็บไซต์ให้รองรับการแสดงผลผ่านหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกันได้โดยอัตโนมัติ โดยผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเปิดใช้งานเว็บไซต์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงขนาดของหน้าจอหรือชนิดของอุปกรณ์สื่อสาร
เทคนิคการทำ Responsive Website ![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/gcb-238.gif)
1. Responsive Retrofitting – แปลงเว็บเก่าให้กลายเป็น Responsive2. Responsive Mobile Site – ปลูกเมล็ด Mobile Site แล้วแปลงเป็น Responsive
3. Mobile-First Responsive Site – ทำเว็บใหม่แบบ Mobile-First (หรือบางคนเรียก Progressive Enhancement)
4. Piecemeal – แปลงเว็บเก่าให้กลายเป็น Responsive ทีละนิด
RESPONSIVE RETROFITTING![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/gcb-279.gif)
เป็นการเอา Desktop Site (เว็บไซต์ที่ทำขึ้นมาเพื่อรองรับหน้าจอคอมพิวเตอร์) ที่มีอยู่แล้วมาเขียน CSS3 Media Query เพิ่มเข้าไป เพื่อให้รองรับหน้าจอแบบ Responsive วิธีนี้ใช้กันเยอะมากครับ เพราะเป็นวิธีที่ Developer ไม่เหนื่อยมาก แต่จะเหนื่อยที่ User แทนครับ ลองมาดูกันว่าดีไม่ดียังไง
ข้อดีของ RESPONSIVE RETROFITTING
- User เก่าไม่งง ดีไซน์เก่ายังอยู่
- ไม่ต้อง Redesign ทำให้ไม่ต้องถกปัญหาเรื่อง Branding กับบริษัทใหม่อีกครั้ง และไม่เสียงบค่าดีไซน์เพิ่มด้วย
ข้อเสียของ RESPONSIVE RETROFITTING
- เว็บ Desktop เป็นเว็บที่หนัก มี Component มากมาย (โดยเฉพาะคนที่ชอบใช้ Bootstrap ซึ่งค่อนข้างหนักเว็บไซต์) พอเปิดในมือถือเหมือนกับพยายามเอาช้างไปยัดใส่ตู้เย็นเล็ก ๆ เลย
- เว็บโหลดช้าลงทั้งในมือถือและในคอม เพราะเขียนโค้ดมากขึ้นเพื่อให้ไปรองรับ Responsive ยิ่งมือถือเน็ตช้า ๆ ยิ่งช้าเข้าไปอีก
- บาง Device ไม่รองรับ Media Query ทำให้เปิดไม่เจอเวอร์ชั่น Responsive ถึงแม้จะแก้ได้โดยการใช้ Javascript ช่วย แต่ทำให้เว็บหนักขึ้นไปอีก ดังนั้นทำแบบ Mobile First จะครอบคลุมมากกว่า
- เป็นวิธีที่ค่อนข้างฉาบฉวย คือทำแบบนี้จะไม่ใช่ Responsive ที่ทำให้ User บนมือถือได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง (อาจจะให้โทษมากกว่า)
RESPONSIVE MOBILE SITE![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/gcb-279.gif)
ข้อดีของ RESPONSIVE MOBILE SITE
- มีเวลาให้ทีม Designer ค่อย ๆ เรียนรู้ในการดีไซน์เว็บไซต์ที่เหมาะกับ Responsive โดยใช้เว็บ Mobile site เป็นที่ทดสอบ
- สำหรับทีมอื่น ๆ เช่น ฝ่าย Content ก็มีเวลาเรียนรู้ในการปรับ Content ให้เหมาะกับการอ่านบนหน้าจอหลายรูปแบบเช่นกัน
- ช่วยลดขนาดเว็บให้เล็กลงกว่าเดิมได้ โดยการตัดทอน Element เก่าใน Desktop Site ที่ไม่จำเป็นออก
ข้อเสียของ RESPONSIVE MOBILE SITE
- การทำ Mobile Site ขึ้นมาได้สำเร็จ ไม่ได้แปลว่าในอนาคตจะสามารถพัฒนาต่อเป็น Desktop Site เพื่อใช้แทนเว็บเก่าได้ง่าย จะเจอปัญหาทั้งเรื่องระยะเวลา ความสามารถของทีมงาน และแรงกดดันในการเปลี่ยนจากผู้อ่านเก่า ๆ
- องค์กรบางแห่งไม่อดทนพอที่จะผลักดันให้ Mobile Site กลายเป็น Desktop Site ได้ในอนาคต ทำให้โปรเจคโดนทิ้งครึ่ง ๆ กลาง ๆ เนื่องจากโดนตัดเงินทุนก่อน
MOBILE-FIRST RESPONSIVE SITE![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/gcb-279.gif)
![](http://www.ruddersoft.com/images/webservice2.png)
ซึ่งวิธีนี้ต่อให้มือถือไม่รองรับ Media Query ก็จะเห็นเว็บแบบ Mobile อยู่แล้ว ส่วนถ้าผู้ใช้เปิดในคอมก็จะโหลด Component เพิ่มเติมสำหรับหน้าจอคอมเท่านั้น ซึ่งคนเปิดในมือถือก็จะได้เว็บที่เบา โหลดเร็ว ส่วนคนเปิดในคอมจะได้เว็บที่หนักขึ้น แต่ก็ถือว่ารับได้เพราะในคอมอินเตอร์เน็ตเร็วกว่าครับ
ข้อดีของ MOBILE-FIRST RESPONSIVE WEBSITE
- รองรับ Mobile ได้ทันที โดยที่ Device นั้นไม่ต้องรองรับ Media Query ก็ได้
- ปรับแต่งให้เว็บไซต์โหลดไวบนมือถือได้ไม่ยาก
- ปรับแต่งให้รองรับหน้าจอหลายขนาดได้ง่าย เพราะเราทำจากเล็กไปใหญ่ เราจะเห็นหมดว่าพอขยายหน้าจอถึงไหนแล้วหน้าตาจะเป็นยังไง
- เหมาะกับการพัฒนาเป็น Desktop Site ต่อในอนาคต
ข้อเสียของ MOBILE-FIRST RESPONSIVE WEBSITE
- การทำแบบ Mobile First ต้องปรับแนวคิดการทำเว็บไซต์แบบเก่าในสมองออกไป ซึ่งเราต้องให้ความรู้กับทีมงานเยอะ ๆ ถึงจะทำได้
- การต้องดีไซน์เว็บใหม่อาจมีปัญหากับ Branding ขององค์กร บางครั้งผู้บริหารอยากได้โลโก้ใหญ่ หรืออยากได้สีนั้นสีนี้ ก็จะทำให้การทำเว็บไซต์ใหม่ล่าช้าขึ้นไปอีก
- Interface ใหม่อาจทำให้ User สับสนในช่วงแรก (เหมือนที่ Pantip ตอนรีดีไซน์ใหม่ ๆ) เพราะฉะนั้นต้องใส่ใจให้คำตอบ User และรับ Feedback ตลอดเวลา
PIECEMEAL![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/gcb-279.gif)
วิธีสุดท้ายนี้เป็นการค่อย ๆ แปลงทีละส่วนบนเว็บไซต์ให้เป็น Responsive ซึ่งเหมาะกับเว็บไซต์บางเว็บที่ไม่สามารถ Redesign ใหม่หมดได้ อาจจะติดเรื่อง Branding, งบประมาณ หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งการทำแบบ Piecemeal นี้ก็มีแยกย่อยเป็นหลายแบบ คือ
PIECEMEAL แบบที่ 1 – PAGE BY PAGE![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/srt-dao-17.gif)
ข้อดีของ PAGE BY PAGE RESPONSIVE
- มีเวลาให้ทีมงานเรียนรู้การทำ Responsive จากหน้าแรก และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้ต่อกับหน้าอื่น ๆ ในเว็บไซต์ได้
- สามารถนำไปใช้จริงได้เร็ว ไม่ต้องรอเสร็จทั้งเว็บก่อน
ข้อเสียของ PAGE BY PAGE RESPONSIVE
- บางครั้งการทำแบบนี้อาจทำให้ทีมงานไม่มี Deadline ว่าจะเสร็จทั้งเว็บไซต์เมื่อไหร่ เพราะทำทีละหน้าไปเรื่อย ๆ และสุดท้ายกลายเป็นโปรเจคที่ไม่เสร็จสมบูรณ์ในที่สุด
PIECEMEAL แบบที่ 2 - COMPONENT BY COMPONENT![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/ICON-5/srt-dao-17.gif)
ข้อดีของเทคนิค COMPONENT BY COMPONENT
- การแบ่งส่วนในเว็บเป็น Element ย่อย ๆ ทำให้ Developer สามารถทำเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น และ Design ไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น (เป็นเรื่องของ Atomic Design ครับ ซึ่งถ้ามีโอกาสจะนำมาเขียนเล่าให้ฟัง)
- การแบ่งส่วนในเว็บเป็น Element ย่อย ๆ ทำให้สามารถส่งให้ลูกค้าตรวจเช็คได้ง่ายขึ้น และทำงานกันได้เร็วขึ้น โดยส่งเป็นทีละ Element ไป
ข้อเสียของเทคนิค COMPONENT BY COMPONENT
- เหมือนกับการทำ Page by Page คืออาจไม่มี Deadline แน่นอน ทำให้เว็บไม่เสร็จสักที
- อาจเกิดปัญหาในการใช้เทคโนโลยีใหม่แล้วไปตีกับเทคโนโลยีเก่าที่ใช้อยู่ได้
สรุปว่าเลือกวิธีการทำเว็บ RESPONSIVE แบบไหนดี
- เวลาที่มีในการพัฒนาเว็บไซต์
- งบประมาณในการพัฒนาเว็บไซต์
- รูปแบบองค์กร (มีผลว่าเทคนิคไหนจะล่มไม่ล่ม จะมีงบประมาณต่อในปีหน้ามั้ย หรือมีแค่ก้อนเดียวจบ)
- ความสามารถของสมาชิกในทีม (Web Developer, Web Designer, Content Manager, etc.)ผลลัพธ์ที่เราต้องการจากการทำเว็บไซต์แบบ Responsive (เช่น ทำให้คนซื้อสินค้าในเว็บได้ง่ายขึ้น หรือเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้นบนมือถือ)
ประโยชน์ของการทำเว็บไซต์ Responsive Web Design
1. Responsive WebDesign ได้รับการรับรองจาก google ช่วยให้ติด index google ได้ทั้ง desktop และ mobile ในหน้าเดียว
2. การทำ Responsive เพียงแค่ไซต์เดียวก็รองรับทุกอุปกรณ์ และไม่ต้องทำหลายๆหน้า ช่วยให้ไม่หนักเซิฟเวอร์
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำ โดยที่เราไม่ต้องทำหน้าต่างแยกกันระหว่าง mobile และ desktop
นอกจากนี้ยังประหยัดเวลาลดระยะเวลาในการทำงานหลายๆหน้า โดยที่เราก็วางแผนครั้งเดียว และทำเพียงแค่หน้าเดียวเท่านั้นเอง
4. รวดเร็วในการดูแล จัดการเว็บไซต์ ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์หลายๆหน้า
5. รองรับผู้ใช้ทุกอุปกรณ์ เพราะสุดท้ายผู้คนจากหลายอุปกรณ์ก็มีความต้องการเดียวกัน
6. เว็บไซต์ไม่ต้อง redirect หน้าไปหาหน้า mobile ให้เสียเวลา ช่วยให้เซิฟเวอร์ไม่ทำงานหนักและไม่วุ่นวาย
7. Googlebot-Mobile จะสนใจกับไซต์ที่รองรับอุปกรณ์ประเภท mobile ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่า Googlebot-mobile จะเข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ที่ทำออกมารองรับ mobile ของคุณอย่างแน่นอน หลังจากนี้เราก็มาเริ่มทำ seo ผ่าน mobile กันต่อไป
8. ช่วยทำให้การค้นหาผ่าน mobile เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
![](http://i687.photobucket.com/albums/vv237/4-one/4-1/HT2/URD-33.png)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น